ตลอดปี 2011 ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในแวดวงเทคโนโลยีมากมาย ตั้งแต่การเกิดใหม่ของ Windows Phone การเติบโตขึ้นของร้านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ การบูมของแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน ขาลงของ Flash ที่มาพร้อมกับการที่ HTML5 ถูกยอมรับมากขึ้น ตลอดจนเครือข่ายสังคมซึ่งตอนนี้กลายเป็นบ้านหลังที่สองของใครหลายๆ คน
โดยทั่วไป ทิศทางของเทคโนโลยีในกลุ่มผู้บริโภค (Consumer Technology) ในปี 2012 คงยังไม่เปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก และจะยังคงสืบเนื่องมาจากปีที่แล้ว หากแต่จะทวีความเข้มข้นมากกว่าเดิม เชื่อมต่อเข้าถึงกันผ่านเครือข่ายสังคมหรือบริการกลุ่มเมฆมากขึ้น รวมทั้งเส้นแบ่งระหว่างอุปกรณ์พกพาที่จะเจือจางลงอันเนื่องมาจากโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบปฏิบัติการ และบริการเสริมที่จะเชื่อมข้อมูลของผู้ใช้ให้สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต
ย้อนกลับไปเมื่อราว 3-4 ปีที่แล้ว เน็ตบุ๊กนับเป็นผลิตภัณฑ์น้องใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของผู้บริโภคที่ต้องการอุปกรณ์ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และใช้งานเพียงเข้าสู่โลกออนไลน์ได้เป็นอย่างดี ทว่าตั้งแต่แท็บเล็ตได้ถือกำเนิดขึ้น ความต้องการเน็ตบุ๊กก็น้อยลงเนื่องจากอุปกรณ์น้องใหม่สามารถใช้งานเพื่อสนองความต้องการได้ดีพอกัน อีกทั้งยังมีข้อดีอื่นที่เหนือกว่าคือ การตอบสนองผ่านหน้าจอระบบสัมผัสที่สามารถทำงานได้รวดเร็ว ร้านค้าออนไลน์ที่สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเพื่อเสริมความสามารถ และการประหยัดพลังงานที่ทำได้ดีกว่า เพราะฮาร์ดแวร์ภายในได้ถูกออกแบบมาเพื่อการณ์นี้โดยเฉพาะ
ถ้าจะกล่าวว่า 2011 เป็นปีแห่งแท็บเล็ต 2012 ก็คงจะกล่าวได้ว่าเป็นปีแห่งอัลตร้าบุ๊ก อุปกรณ์น้องใหม่ภายใต้แนวคิดของบริษัท Intel ที่ต้องการหลอมรวมข้อดีด้านประสิทธิภาพที่มากกว่าของโน้ตบุ๊กเข้ากันกับการตอบสนองที่ทันใจกว่าของแท็บเล็ต และขายภายใต้ราคาที่ต่ำกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐ
ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา ได้มีอัลตร้าบุ๊กหลายรุ่นเริ่มวางจำหน่ายและสามารถทำยอดขายได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ ประกอบกับแรงหนุนจาก Intel เองจึงทำให้ผู้ผลิตหลายแบรนด์เริ่มเอาใจออกห่างจากเน็ตบุ๊ก เข่น Samsung และ Dell ที่มีแนวโน้มว่าจะเลิกผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวแน่นอน อีกทั้งหลายรายก็อาจเลิกพัฒนาแท็บเล็ตด้วย เพราะประสบปัญหาไม่สามารถดึงคะแนนนิยมของผู้บริโภคออกจาก iPad ได้
แล้วปีนี้เราจะได้เห็นอะไรจากแท็บเล็ตกับอัลตร้าบุ๊ก? แน่นอนว่าประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น น้ำหนักที่เบาลง หน้าจอความละเอียดสูง และการประหยัดพลังงานยังคงเป็นกุญแจและจุดขายสำคัญของอุปกรณ์ทั้งสอง ด้านแท็บเล็ตเราคงได้เห็นสงครามระหว่าง iPad และกองทัพ Android กันต่อไป แต่รายหลังคงมีทิศทางที่เป็นเอกภาพมากขึ้น โดย Google ไม่น่าจะปล่อยให้ Android 4.0 ประสบปัญหา Fragmentation ที่ต้องทำให้ผู้บริโภครู้สึกเหมือนลุ้นหวยทุกครั้งว่าอุปกรณ์ที่ตนซื้อมาจะสามารถอัพเกรดไปใช้ระบบปฏิบัติการใหม่ได้หรือไม่
ด้านอัลตร้าบุ๊กนั้นก็เช่นกัน ที่คาดได้ว่ารุ่นถัดมาจะต้องมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมด้วยโปรเซสเซอร์ใหม่ แต่ว่าเนื่องจากคอนเซ็ปต์อัลตร้าบุ๊กได้รับการกำหนดโดย Intel จึงอาจทำให้หลายรุ่นที่ออกมาจากแต่ละค่ายไม่มีจุดขายที่โดดเด่นต่างจากกันมากนัก ผลก็คือแทนที่อัลตร้าบุ๊กจะเป็น MacBook Air Killer ก็อาจกลายเป็นต้องมารบแย่งลูกค้ากันเองมากกว่า
อินเทอร์เฟซใหม่เอาใจแอพพลิเคชั่นโมบายล์
ความเคลื่อนไหวหลายอย่างที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าอินเทอร์เฟซดั้งเดิมอายุ 20 กว่าปีที่ประกอบไปด้วยหน้าต่าง ไอคอน เมนู และลูกศรเมาส์ จะเริ่มหลีกทางให้ระบบสัมผัส การใช้ท่าทางรวมทั้งการสั่งด้วยเสียงที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากกว่าเดิม แนวโน้มนี้ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นกับแอพพลิเคชั่นโมบายล์เท่านั้น แต่กับเดสก์ท็อปดั้งเดิมก็ได้ถูกนำมาใช้งานด้วย Mac OS X Lion และ Windows 8 เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะ Lion นับเป็นระบบปฏิบัติการตัวแรกจาก Apple ที่ถูกพัฒนาเพื่อให้ใช้งานกับท่าทางระบบสัมผัสที่หลากหลาย การเปิดแอพพลิเคชั่นแบบเต็มจอ และ Launchpad หน้าจอแสดงรายชื่อแอพพลิเคชั่นที่ได้รับอิทธิพลมาจาก iOS แบบเต็ม ๆ
ด้าน Windows 8 ก็ได้รับการพัฒนาให้รองรับระบบสัมผัสมาตั้งแต่ต้นโดยการแบ่งอินเทอร์เฟซออกเป็นสองชั้น คือ Metro สำหรับใช้งานร่วมกับหน้าจอสัมผัสของแท็บเล็ต และ Classic หรือแบบดั้งเดิมที่ใช้งานร่วมกับเมาส์และคีย์บอร์ดที่เราคุ้นเคย หลายฝ่ายมองว่าจุดเด่นของ Windows 8 ข้อนี้เป็นเหมือนกับดาบสองคม นัยหนึ่งก็จะเอื้อต่อการพัฒนาอุปกรณ์ประเภทไฮบริจ ที่รวมกันระหว่างแท็บเล็ตกับโน้ตบุ๊กอย่าง ASUS Transformer Prime แต่อีกด้านหนึ่งก็มีความวิตกว่าจะสร้างความซับซ้อนและความสับสนในการใช้งานโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นที่อาจไม่สามารถทำงานได้อย่าง "ไร้รอยต่อ" ระหว่างอินเทอร์เฟซทั้งสอง
แต่ว่าดาวเด่นในปีนี้ ก็เห็นจะเป็นเทคโนโลยีการใช้ท่าทางและการสั่งด้วยเสียงที่ชัดเจนว่าจะมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ ความสำเร็จของ Kinect จากที่เป็นเพียงอุปกรณ์เล่นเกมนั้นได้ถูก Microsoft ให้คำมั่นแล้วว่าจะพอร์ตมาลงพีซีแน่นอนในปีนี้ โดยจะได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งานในระยะใกล้มากขึ้น มีความแม่นยำกว่าเดิมถึงขั้นอาจตรวจจับริมฝีปากของเราได้ รวมทั้งจะสนับสนุนด้านการพัฒนาต่อยอดด้วยการปล่อย Software Development Kit (SDK) สำหรับนักพัฒนาที่สนใจ ส่งผลให้มีก็แต่จินตนาการของเราเท่านั้นที่เป็นข้อจำกัด
สำหรับการสั่งด้วยเสียงนั้น Siri ลูกเล่นเด่นที่สุดของ iPhone 4S ทำให้ความฝันที่คอมพิวเตอร์จะสามารถตอบสนองผู้ใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติใกล้เคียงความจริงเข้าไปทุกที ถึงแม้จะเป็นที่ยอมรับว่าเทคโนโลยีน้องใหม่นี้ยังมีอุปสรรคด้านภาษาและสำเนียงที่รองรับซึ่งต่างไปในแต่ละพื้นที่ แต่ก็ไม่ได้ทำให้คู่แข่งอย่าง Google ละความพยายามในการพัฒนาออกมาเป็นคู่แข่ง Majel คือชื่อรหัสของการสั่งด้วยเสียงจากยักษ์ใหญ่ด้านเอ็นจิ้นค้นหาที่ได้สานต่อการพัฒนามาจาก Voice Actions เดิมที่รองรับคำสั่งเป็นราย ๆ ไป แต่ Majel จะมีความคล้ายคลึงกับ Siri มากกว่าตรงที่สามารถตีความบริบท (Context) ของเหตุการณ์ตอนนั้นได้อย่างเป็นธรรมชาติ คาดว่า Android เวอร์ขั่นใหม่คงมีเทคโนโลยีนี้เสริมมาด้วยแน่นอน
นอกจากเดิมที่นักพัฒนาต้องทำความคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มและอุปกรณ์ที่มีอยู่มากมายแล้ว อินเทอร์เฟซใหม่โดยเฉพาะสองอย่างหลังที่ไม่ต้องการสัมผัสร่างกายใด ๆ นั้น ทำให้การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์พกพาในยุคหน้ามีความท้าทายกว่าเดิม แต่ในขณะเดียวกันก็ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีจินตนาการสูงสามารถนำอินเทอร์เฟซใหม่นี้มาประยุกต์พัฒนาแอพพลิเคชั่นให้มีลูกเล่นน่าสนใจมากขึ้น
ข่าวดีอีกข้อหนึ่งก็คือ เทคโนโลยีเว็บฯ ยุคหน้าอย่าง HTML5 นั้นถูกพัฒนาเสริมเขี้ยวเล็บมากขึ้นกว่าเดิมจนเป็นที่ยอมรับ การยกเลิกพัฒนา Flash Player บนอุปกรณ์พกพาโดย Adobe นับเป็นสัญญาณที่ดีว่าอีกไม่นาน นักพัฒนาคงไม่ต้องปวดหัวเรียนรู้คุณลักษณะหลายประการที่มีอยู่ในแพลตฟอร์มเฉพาะ Gartner ได้ทำนายว่า ภายในปี 2015 แอพพลิเคชั่นกว่าครึ่งที่เคยเป็นเนทีฟแอพ ซึ่งสามารถรันได้บนอุปกรณ์เฉพาะอย่าง จะถูกเปลี่ยนมาเป็นเว็บแอพฯ ที่สามารถใช้งานได้ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ทั่วไป
ถ้าจะกล่าวว่า 2011 เป็นปีแห่งแท็บเล็ต 2012 ก็คงจะกล่าวได้ว่าเป็นปีแห่งอัลตร้าบุ๊ก อุปกรณ์น้องใหม่ภายใต้แนวคิดของบริษัท Intel ที่ต้องการหลอมรวมข้อดีด้านประสิทธิภาพที่มากกว่าของโน้ตบุ๊กเข้ากันกับการตอบสนองที่ทันใจกว่าของแท็บเล็ต และขายภายใต้ราคาที่ต่ำกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐ
ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา ได้มีอัลตร้าบุ๊กหลายรุ่นเริ่มวางจำหน่ายและสามารถทำยอดขายได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ ประกอบกับแรงหนุนจาก Intel เองจึงทำให้ผู้ผลิตหลายแบรนด์เริ่มเอาใจออกห่างจากเน็ตบุ๊ก เข่น Samsung และ Dell ที่มีแนวโน้มว่าจะเลิกผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวแน่นอน อีกทั้งหลายรายก็อาจเลิกพัฒนาแท็บเล็ตด้วย เพราะประสบปัญหาไม่สามารถดึงคะแนนนิยมของผู้บริโภคออกจาก iPad ได้
แล้วปีนี้เราจะได้เห็นอะไรจากแท็บเล็ตกับอัลตร้าบุ๊ก? แน่นอนว่าประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น น้ำหนักที่เบาลง หน้าจอความละเอียดสูง และการประหยัดพลังงานยังคงเป็นกุญแจและจุดขายสำคัญของอุปกรณ์ทั้งสอง ด้านแท็บเล็ตเราคงได้เห็นสงครามระหว่าง iPad และกองทัพ Android กันต่อไป แต่รายหลังคงมีทิศทางที่เป็นเอกภาพมากขึ้น โดย Google ไม่น่าจะปล่อยให้ Android 4.0 ประสบปัญหา Fragmentation ที่ต้องทำให้ผู้บริโภครู้สึกเหมือนลุ้นหวยทุกครั้งว่าอุปกรณ์ที่ตนซื้อมาจะสามารถอัพเกรดไปใช้ระบบปฏิบัติการใหม่ได้หรือไม่
ด้านอัลตร้าบุ๊กนั้นก็เช่นกัน ที่คาดได้ว่ารุ่นถัดมาจะต้องมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมด้วยโปรเซสเซอร์ใหม่ แต่ว่าเนื่องจากคอนเซ็ปต์อัลตร้าบุ๊กได้รับการกำหนดโดย Intel จึงอาจทำให้หลายรุ่นที่ออกมาจากแต่ละค่ายไม่มีจุดขายที่โดดเด่นต่างจากกันมากนัก ผลก็คือแทนที่อัลตร้าบุ๊กจะเป็น MacBook Air Killer ก็อาจกลายเป็นต้องมารบแย่งลูกค้ากันเองมากกว่า
ด้าน Windows 8 ก็ได้รับการพัฒนาให้รองรับระบบสัมผัสมาตั้งแต่ต้นโดยการแบ่งอินเทอร์เฟซออกเป็นสองชั้น คือ Metro สำหรับใช้งานร่วมกับหน้าจอสัมผัสของแท็บเล็ต และ Classic หรือแบบดั้งเดิมที่ใช้งานร่วมกับเมาส์และคีย์บอร์ดที่เราคุ้นเคย หลายฝ่ายมองว่าจุดเด่นของ Windows 8 ข้อนี้เป็นเหมือนกับดาบสองคม นัยหนึ่งก็จะเอื้อต่อการพัฒนาอุปกรณ์ประเภทไฮบริจ ที่รวมกันระหว่างแท็บเล็ตกับโน้ตบุ๊กอย่าง ASUS Transformer Prime แต่อีกด้านหนึ่งก็มีความวิตกว่าจะสร้างความซับซ้อนและความสับสนในการใช้งานโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นที่อาจไม่สามารถทำงานได้อย่าง "ไร้รอยต่อ" ระหว่างอินเทอร์เฟซทั้งสอง
แต่ว่าดาวเด่นในปีนี้ ก็เห็นจะเป็นเทคโนโลยีการใช้ท่าทางและการสั่งด้วยเสียงที่ชัดเจนว่าจะมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ ความสำเร็จของ Kinect จากที่เป็นเพียงอุปกรณ์เล่นเกมนั้นได้ถูก Microsoft ให้คำมั่นแล้วว่าจะพอร์ตมาลงพีซีแน่นอนในปีนี้ โดยจะได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งานในระยะใกล้มากขึ้น มีความแม่นยำกว่าเดิมถึงขั้นอาจตรวจจับริมฝีปากของเราได้ รวมทั้งจะสนับสนุนด้านการพัฒนาต่อยอดด้วยการปล่อย Software Development Kit (SDK) สำหรับนักพัฒนาที่สนใจ ส่งผลให้มีก็แต่จินตนาการของเราเท่านั้นที่เป็นข้อจำกัด
สำหรับการสั่งด้วยเสียงนั้น Siri ลูกเล่นเด่นที่สุดของ iPhone 4S ทำให้ความฝันที่คอมพิวเตอร์จะสามารถตอบสนองผู้ใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติใกล้เคียงความจริงเข้าไปทุกที ถึงแม้จะเป็นที่ยอมรับว่าเทคโนโลยีน้องใหม่นี้ยังมีอุปสรรคด้านภาษาและสำเนียงที่รองรับซึ่งต่างไปในแต่ละพื้นที่ แต่ก็ไม่ได้ทำให้คู่แข่งอย่าง Google ละความพยายามในการพัฒนาออกมาเป็นคู่แข่ง Majel คือชื่อรหัสของการสั่งด้วยเสียงจากยักษ์ใหญ่ด้านเอ็นจิ้นค้นหาที่ได้สานต่อการพัฒนามาจาก Voice Actions เดิมที่รองรับคำสั่งเป็นราย ๆ ไป แต่ Majel จะมีความคล้ายคลึงกับ Siri มากกว่าตรงที่สามารถตีความบริบท (Context) ของเหตุการณ์ตอนนั้นได้อย่างเป็นธรรมชาติ คาดว่า Android เวอร์ขั่นใหม่คงมีเทคโนโลยีนี้เสริมมาด้วยแน่นอน
นอกจากเดิมที่นักพัฒนาต้องทำความคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มและอุปกรณ์ที่มีอยู่มากมายแล้ว อินเทอร์เฟซใหม่โดยเฉพาะสองอย่างหลังที่ไม่ต้องการสัมผัสร่างกายใด ๆ นั้น ทำให้การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์พกพาในยุคหน้ามีความท้าทายกว่าเดิม แต่ในขณะเดียวกันก็ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีจินตนาการสูงสามารถนำอินเทอร์เฟซใหม่นี้มาประยุกต์พัฒนาแอพพลิเคชั่นให้มีลูกเล่นน่าสนใจมากขึ้น
ข่าวดีอีกข้อหนึ่งก็คือ เทคโนโลยีเว็บฯ ยุคหน้าอย่าง HTML5 นั้นถูกพัฒนาเสริมเขี้ยวเล็บมากขึ้นกว่าเดิมจนเป็นที่ยอมรับ การยกเลิกพัฒนา Flash Player บนอุปกรณ์พกพาโดย Adobe นับเป็นสัญญาณที่ดีว่าอีกไม่นาน นักพัฒนาคงไม่ต้องปวดหัวเรียนรู้คุณลักษณะหลายประการที่มีอยู่ในแพลตฟอร์มเฉพาะ Gartner ได้ทำนายว่า ภายในปี 2015 แอพพลิเคชั่นกว่าครึ่งที่เคยเป็นเนทีฟแอพ ซึ่งสามารถรันได้บนอุปกรณ์เฉพาะอย่าง จะถูกเปลี่ยนมาเป็นเว็บแอพฯ ที่สามารถใช้งานได้ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ทั่วไป
เครือข่ายสังคมที่เราใช้งานทุกวัน ไม่เพียงแต่มีข้อดีที่ทำให้เราเชื่อมถึงกันได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ข้อมูลทุกๆ อย่างรวมทั้งคอนเทนต์ที่เรา "แบ่งปัน" หรือกด "ชอบ" ล้วนแต่สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกเฉพาะของแต่ละคนได้ Facebook ได้ใช้ความจริงข้อนี้ในการแสดงโฆษณาข้าง ๆ หน้าจอเวลาใช้งาน Zite แอพพลิเคชั่นยำข่าวชื่อดังบน iOS สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการอ่านได้ว่าเราชอบบทความในลักษณะใด ซึ่งจะส่งผลต่อการเปิดใช้งานครั้งต่อไปให้คัดเลือกเฉพาะประเภทข่าวที่เราสนใจเท่านั้นมาแสดงผล หรือจะเป็นระบบแนะนำสินค้าใน Amazon ที่สามารถเสนอขายสินค้า ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันหรือโปรโมชั่นที่น่าสนใจให้กับเราได้โดยอ้างอิงจากพฤติกรรมการเลือกดูสินค้าที่ผ่านมา
กล่าวให้เข้าใจโดยง่ายคือ คอนเซ็ปต์ของ Context-Aware Computing นั้น จะนำข้อมูลที่เกี่ยวโยงกับผู้ใช้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นความชอบ พฤติกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเครือข่ายเพื่อนฝูงมาพัฒนาปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และบริการให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการคาดเดาความต้องการเพื่อที่จะป้อนคอนเทนต์หรือลักษณะการบริการที่เหมาะสมกับเรา
จากตัวอย่างที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่บริการออนไลน์ในอนาคตที่มีแนวโน้มที่จะเข้าใจความต้องการเฉพาะของแต่ละบุคคลได้มากกว่าเดิมเท่านั้น แต่ความเป็นไปได้ในการนำไปประยุกต์ใช้ยังมีหลากหลาย แนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจคือ การเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ใช้เข้ากันกับบริการอื่นที่มีอยู่แล้ว ทั้งอีคอมเมิร์ซ โมบายล์แบงก์กิ้ง โลเคชั่น รวมทั้ง Augmented Reality ให้กลายมาเป็นบริการที่โดดเด่นด้วยความเป็นอินเทอร์แอ็คทีฟ และมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องกับบุคลิกของผู้ใช้ได้มากที่สุดและเอื้อให้มีปฏิสัมพันธ์ในระยะยาว ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญของการบริการทั้งปวง
กล่าวให้เข้าใจโดยง่ายคือ คอนเซ็ปต์ของ Context-Aware Computing นั้น จะนำข้อมูลที่เกี่ยวโยงกับผู้ใช้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นความชอบ พฤติกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเครือข่ายเพื่อนฝูงมาพัฒนาปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และบริการให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการคาดเดาความต้องการเพื่อที่จะป้อนคอนเทนต์หรือลักษณะการบริการที่เหมาะสมกับเรา
จากตัวอย่างที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่บริการออนไลน์ในอนาคตที่มีแนวโน้มที่จะเข้าใจความต้องการเฉพาะของแต่ละบุคคลได้มากกว่าเดิมเท่านั้น แต่ความเป็นไปได้ในการนำไปประยุกต์ใช้ยังมีหลากหลาย แนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจคือ การเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ใช้เข้ากันกับบริการอื่นที่มีอยู่แล้ว ทั้งอีคอมเมิร์ซ โมบายล์แบงก์กิ้ง โลเคชั่น รวมทั้ง Augmented Reality ให้กลายมาเป็นบริการที่โดดเด่นด้วยความเป็นอินเทอร์แอ็คทีฟ และมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องกับบุคลิกของผู้ใช้ได้มากที่สุดและเอื้อให้มีปฏิสัมพันธ์ในระยะยาว ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญของการบริการทั้งปวง
ตามจริงแล้ว Internet of Things (IoT) ไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นไอเดียดั้งเดิมที่กำลังเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างช้าๆ แนวคิดนี้อธิบายว่า วัตถุที่เราใช้งานในชีวิตประจำวันจะมีความชาญฉลาดมากขึ้น สามารถเชื่อมถึงกันและสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้โดยอาศัยเซ็นเซอร์ที่ฝังอยู่ภายใน ซึ่งแต่ก่อนสามารถทำได้ยากเพราะกระบวนการผลิตไมโครชิพยังไม่ได้รับการพัฒนามากเท่าปัจจุบัน แต่ช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ เราได้เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เซ็นเซอร์มีขนาดเล็กลง รวมทั้งระบบปฏิบัติการที่ได้รับการพัฒนาให้ยืดหยุ่นมากขึ้นนั้นก็เอื้อให้แนวคิดนี้มีความเป็นไปได้สูง
ไม่เพียงแต่เซ็นเซอร์เท่านั้นที่มีส่วนให้ IoT ได้รับการพัฒนา แต่เทคโนโลยีที่เกี่ยวโยงกันอย่างการรู้จำภาพ (Image Recognition) และ Near Field Communication (NFC) ก็มีส่วนด้วยเช่นกัน ลูกเล่นการรู้จำภาพทำให้สัญลักษณ์อย่าง QR Code สามารถนำไปใช้ในการระบุตัวตนและให้ข้อมูลกับวัตถุได้ทุกรูปแบบ ตั้งแต่สินค้าและบริการ ไปจนถึงข้อมูลส่วนบุคคลผ่านทางโลโก้ที่อยู่บนเสื้อยืด ส่วนหนึ่งต้องยกความดีความชอบให้กับอุปรณ์พกพาในปัจจุบันที่มักติดกล้องถ่ายภาพมาให้และบริการ 3G ที่ทำให้การสแกนและการเชื่อมต่อฐานข้อมูลออนไลน์เป็นไปอย่างรวดเร็ว
ที่น่าจับตาในปีนี้ NFC หรือเทคโนโลยีรับ-ส่งข้อมูลระยะสั้นที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ทั้งบริการไมโครเพย์เมนต์ผ่านทางเครื่องอ่านที่ช่องทางชำระเงิน หรือใช้แทนกุญแจห้องพัก แต่นักวิเคราะห์หลายฝ่ายชี้ว่า กว่าเทคโนโลยีนี้จะถูกใช้งานอย่างแพร่หลายก็คงต้องรอจนกว่าจะถึงปี 2015 ที่อุปกรณ์พกพาทุกชิ้นจะรองรับลูกเล่นดังกล่าว ระหว่างนี้สิ่งที่ต้องทำคือ พัฒนารูปแบบการใช้งานและการรักษาความปลอดภัยให้ดีขึ้น สร้างความรับรู้ให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภคทั่วไป รวมทั้งชี้ให้ร้านค้าให้ตระหนักถึงคุณประโยชน์ที่จะได้รับจากเทคโนโลยีนี้
ร้านค้าออนไลน์ หรือซีดีจะถึงจุดจบ?
โมเดล App Store จาก Apple และ Android Market จาก Google ได้วางรากฐานการซื้อ-ขายแอพพลิเคชั่นและโปรแกรมในยุคหน้าไว้อย่างเหนียวแน่น ด้วยราคาขายที่สามารถทำให้ถูกกว่าวางจำหน่ายตามร้านค้าปลีกและความง่ายในการใช้งาน ทำให้ไม่แปลกใจที่ยอดดาวน์โหลดของร้านค้าออนไลน์ทั้งสองจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง Gartner ได้คาดเดาว่า ภายในปี 2014 ยอดดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นโดยรวมต่อปีจะเพิ่มเป็น 7 หมื่นล้านครั้ง ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูงเมื่อดูจากยอดขายของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่เพิ่มขึ้นในทุกปี ผลกระทบที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลยคือ สื่อออฟติคอลดั้งเดิมอย่างซีดีหรือดีวีดี มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมลดลง Steam จากบริษัท Valve นับเป็นผู้เบิกทางการขายซอฟต์แวร์เกมออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง จนกระทั่งนำไปสู่การพัฒนาต่อยอด อย่างเช่น OnLive บริการสตรีมมิ่งเนื้อหาเกมที่ต้องการเพียงคอมพิวเตอร์สักเครื่องที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็สามารถเสพเกมระดับ AAA ได้
ทางด้านซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชันทั่วไปก็คงต้องยกให้ Apple ที่ใจถึงไม่ยอมขาย Mac OS X Lion แบบกล่อง แต่ให้ดาวน์โหลดผ่านทาง Mac App Store เท่านั้น รวมถึงการที่ทยอยวางจำหน่ายซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นใหม่ผ่านทางร้านค้าออนไลน์แต่เพียงแห่งเดียวด้วย โดยได้สอดคล้องกับแนวโน้มแล็ปท็อปในยุคหน้าที่จะมีลักษณะเป็น MacBook Air/อัลตร้าบุ๊กที่มีความบางเบา ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่มีออฟติคอลไดรฟ์มาให้ด้วยนั่นเอง
มาในปีนี้แนวโน้มดังกล่าวก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ซ้ำกลับทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะ Microsoft จะได้ฤกษ์เปิดใช้งาน Windows Store สำหรับใช้งานกับอุปกรณ์ Windows 8 ทั้งหมด โดยมาพร้อมกับข้อเสนอที่ยั่วยวนใจอย่างลดการหักค่าหัวคิวลง เมื่อแอพพลิเคชั่นใดสามารถทำยอดขายได้เกินที่ระบุ หรือการวางจำหน่ายแอพพลิเคชั่นเฉพาะบางพื้นที่เพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และด้วยฐานผู้บริโภค Windows ที่กว้างอยู่แล้ว ยิ่งทำให้น่าติดตามมากว่ายอดดาวน์โหลดของ Windows Store จะเป็นอย่างไร
สรุปโดยภาพรวมคือ เทรนด์เทคโนโลยีในปีนี้มีแนวโน้มที่จะเชื่อมถึงกันมากขึ้นผ่านช่องทางบริการออนไลน์ต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงได้ โดยผ่านทางอุปกรณ์พกพาที่อาจหลอมรวมกันแบบไฮบริจ ใช้งานด้วยอินเทอร์เฟซแบบใหม่ เสริมเขี้ยวเล็บด้วยแอพพลิเคชั่นนับไม่ถ้วน ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของเราได้ถูกต้อง ทั้งหมดนี้อาจไม่ใช่ของใหม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราจะได้เห็นการใช้งานที่แพร่หลายมากกว่าเดิมแน่นอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น